1
เว็บลงโฆษณาฟรี ประกาศขายสินค้าออนไลน์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน / มีโรคประจำตัว ดูแลตนเองอย่างไรในช่วงโควิด-19 (COVID-19)
« เมื่อ: วันที่ 3 เมษายน 2025, 22:56:40 น. »
มีโรคประจำตัว ดูแลตนเองอย่างไรในช่วงโควิด-19 (COVID-19)
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) อาจทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามีอาการป่วยที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถรักษาอาการให้หายดีได้ แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือมีอาการป่วยรุนแรงกว่าผู้ติดเชื้อที่มีสุขภาพแข็งแรง
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าคนทุกช่วงวัยมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือเชื้อโควิด-19 ได้เหมือนกัน แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง หรืออยู่ในระหว่างการรักษาอาการป่วยของร่างกายบางประเภท อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าบุคคลทั่วไป
กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด-19
มาดูกันว่ากลุ่มโรคใดบ้างที่เสี่ยงมีอาการรุนแรงหากผู้ที่มีโรคประจำตัวได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วควรดูแลตนเองอย่างไรให้ปลอดภัย
โรคปอดเรื้อรัง
กลุ่มอาการของโรคปอดเรื้อรังมีอยู่หลายโรค เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคพังผืดสะสมในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Pulmonary Fibrosis) และโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) เป็นต้น หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือมีการอักเสบ หรือเกิดความเสียหายใด ๆ ที่บริเวณปอดอยู่ แล้วเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นมา ก็อาจมีโอกาสติดเชื้ออย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาจะเข้าโจมตีระบบทางเดินหายใจที่ไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้เกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลัน (Asthma Attack) ปอดบวม (Pneumonia) หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
ในปัจจุบันจะยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 โดยตรง วิธีป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังได้ดีที่สุด คือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสติดต่อกับผู้มีอาการป่วย ล้างมือบ่อย ๆ ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ และรับประทานยาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง
โรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 รวมถึงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จัดเป็นกลุ่มที่อาจมีอาการป่วยรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายจากการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้เป็นพลังงานได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา และทำให้ความสามารถในการต่อต้านและจัดการกับเชื้อไวรัสโคโรนาของร่างกายลดต่ำลงด้วย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรดูแลและควบคุมอาการของโรค โดยตรวจวัดและจดบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน และผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อจัดเตรียมยาและอินซูลินสำรองไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดการออกจากบ้านในการไปพบแพทย์หรือเภสัชกรโดยไม่จำเป็น
โรคหัวใจ
แม้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จะโจมตีระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่อาจทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติได้เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสและมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด หรือภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension) เนื่องจากหัวใจจะทำงานหนักกว่าปกติเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
ผู้ป่วยควรรับประทานยารักษาโรคหัวใจและยารักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง และควรจัดเตรียมยาสำรองไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อไวรัสโดยปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชู่ก่อนการไอหรือจาม หมั่นล้างมือให้สะอาด และหลีกเลี่ยงไปในสถานที่สาธารณะที่มีผู้คนจำนวนมาก
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะส่งผลให้ความสามารถในการจัดการกับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคของร่างกายลดลง ซึ่งความอ่อนแอของระบบภูมิคุ้มกันอาจเกิดจากโรคมะเร็งบางชนิด อย่างมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว รวมไปถึงการรักษามะเร็งบางประเภท อย่างการฉายแสง การปลูกถ่ายไขกระดูก การทำเคมีบำบัด หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงในระยะสั้นหรืออาจทำลายระบบภูมิคุ้มกันในระยะยาวได้
การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน อย่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาชนิดอื่น อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้เช่นกัน ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษา ดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นล้างมือ และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการไข้หวัด หรือผู้ป่วยโรคติดต่ออื่น ๆ เนื่องจากผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะติดเชื้อได้ง่าย
โรคอื่น ๆ
นอกจากโรคประจำตัวหรืออาการผิดปกติข้างต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะดังต่อไปนี้ อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่าผู้อื่น
โรคไตเรื้อรัง และรับการรักษาด้วยการฟอกไต (Dialysis)
โรคตับเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง และโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง (Chronic Hepatitis)
โรคอ้วน
ภาวะตั้งครรภ์
ภาวะความผิดปกติของเลือด เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease) หรือรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ภาวะผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคลมชัก (Epilepsy) ภาวะสมองพิการ (Cerebral Palsy) ภาวะพัฒนาการบกพร่องระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง และโรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม (Muscular Dystrophy)
แม้ว่าผู้มีโรคประจำตัวจะจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าผู้อื่น แต่ผู้ป่วยไม่ควรตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลมากเกินไป ทั้งนี้ ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษาโรคประจำตัว โดยรับประทานยาและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อไวรัสด้วยการล้างมือให้สะอาด เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร และหากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรสอบถามไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับคำปรึกษา
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) อาจทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามีอาการป่วยที่แตกต่างกัน ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถรักษาอาการให้หายดีได้ แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือมีอาการป่วยรุนแรงกว่าผู้ติดเชื้อที่มีสุขภาพแข็งแรง
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าคนทุกช่วงวัยมีโอกาสติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือเชื้อโควิด-19 ได้เหมือนกัน แต่ผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง หรืออยู่ในระหว่างการรักษาอาการป่วยของร่างกายบางประเภท อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อและมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าบุคคลทั่วไป
กลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อโควิด-19
มาดูกันว่ากลุ่มโรคใดบ้างที่เสี่ยงมีอาการรุนแรงหากผู้ที่มีโรคประจำตัวได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วควรดูแลตนเองอย่างไรให้ปลอดภัย
โรคปอดเรื้อรัง
กลุ่มอาการของโรคปอดเรื้อรังมีอยู่หลายโรค เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคพังผืดสะสมในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Pulmonary Fibrosis) และโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) เป็นต้น หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือมีการอักเสบ หรือเกิดความเสียหายใด ๆ ที่บริเวณปอดอยู่ แล้วเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นมา ก็อาจมีโอกาสติดเชื้ออย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาจะเข้าโจมตีระบบทางเดินหายใจที่ไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้เกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลัน (Asthma Attack) ปอดบวม (Pneumonia) หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
ในปัจจุบันจะยังไม่มีการรักษาหรือวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 โดยตรง วิธีป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรังได้ดีที่สุด คือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสติดต่อกับผู้มีอาการป่วย ล้างมือบ่อย ๆ ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ และรับประทานยาให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง
โรคเบาหวาน
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 รวมถึงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จัดเป็นกลุ่มที่อาจมีอาการป่วยรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายจากการติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ใช้เป็นพลังงานได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา และทำให้ความสามารถในการต่อต้านและจัดการกับเชื้อไวรัสโคโรนาของร่างกายลดต่ำลงด้วย
ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรดูแลและควบคุมอาการของโรค โดยตรวจวัดและจดบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน และผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อจัดเตรียมยาและอินซูลินสำรองไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดการออกจากบ้านในการไปพบแพทย์หรือเภสัชกรโดยไม่จำเป็น
โรคหัวใจ
แม้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จะโจมตีระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก แต่อาจทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติได้เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสและมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจแต่กำเนิด หรือภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension) เนื่องจากหัวใจจะทำงานหนักกว่าปกติเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย
ผู้ป่วยควรรับประทานยารักษาโรคหัวใจและยารักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ครบถ้วนตามที่แพทย์สั่ง และควรจัดเตรียมยาสำรองไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อไวรัสโดยปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชู่ก่อนการไอหรือจาม หมั่นล้างมือให้สะอาด และหลีกเลี่ยงไปในสถานที่สาธารณะที่มีผู้คนจำนวนมาก
ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
หากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะส่งผลให้ความสามารถในการจัดการกับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคของร่างกายลดลง ซึ่งความอ่อนแอของระบบภูมิคุ้มกันอาจเกิดจากโรคมะเร็งบางชนิด อย่างมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดขาว รวมไปถึงการรักษามะเร็งบางประเภท อย่างการฉายแสง การปลูกถ่ายไขกระดูก การทำเคมีบำบัด หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) ก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลงในระยะสั้นหรืออาจทำลายระบบภูมิคุ้มกันในระยะยาวได้
การติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือการใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน อย่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาชนิดอื่น อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้เช่นกัน ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษา ดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นล้างมือ และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการไข้หวัด หรือผู้ป่วยโรคติดต่ออื่น ๆ เนื่องจากผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจะติดเชื้อได้ง่าย
โรคอื่น ๆ
นอกจากโรคประจำตัวหรืออาการผิดปกติข้างต้น ผู้ป่วยที่มีภาวะดังต่อไปนี้ อาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่าผู้อื่น
โรคไตเรื้อรัง และรับการรักษาด้วยการฟอกไต (Dialysis)
โรคตับเรื้อรัง เช่น โรคตับแข็ง และโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง (Chronic Hepatitis)
โรคอ้วน
ภาวะตั้งครรภ์
ภาวะความผิดปกติของเลือด เช่น โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease) หรือรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
ภาวะผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคลมชัก (Epilepsy) ภาวะสมองพิการ (Cerebral Palsy) ภาวะพัฒนาการบกพร่องระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง และโรคกล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม (Muscular Dystrophy)
แม้ว่าผู้มีโรคประจำตัวจะจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าผู้อื่น แต่ผู้ป่วยไม่ควรตื่นตระหนกหรือวิตกกังวลมากเกินไป ทั้งนี้ ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษาโรคประจำตัว โดยรับประทานยาและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งป้องกันตนเองจากการได้รับเชื้อไวรัสด้วยการล้างมือให้สะอาด เว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร และหากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรสอบถามไปยังโรงพยาบาลเพื่อรับคำปรึกษา